- Details
- Written by Super User
- Category: Uncategorised
- Hits: 8908
ขอเชิญชมภาพข่าวและกิจกรรมในปัจจุบันของโรงเรียนได้ที่ Facebook ของโรงเรียน https://www.facebook.com/dolvidhaya/
- Details
- Written by Super User
- Category: Uncategorised
- Hits: 9272
ศิษย์เก่าดลวิทยา
ศิษย์เก่าดลวิทยาทุกท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของชมรมศิษย์เก่าดลวิทยาและพบปะศิษย์เก่าดลวิทยาท่านอื่นๆได้ที่เพจชมรมศิษย์เก่าดลวิทยาบน Facebook
สำหรับศิษย์เก่าที่จำไม่ได้ว่าอยู่ในรุ่นที่เท่าไหร่ ให้เทียบปีการศึกษาที่เรียนจบ (ไม่ใช่ปีที่จบ) แล้วเทียบจากตารางด้านล่างนี้ค่ะ
- Details
- Written by Super User
- Category: Uncategorised
- Hits: 101270
ยินดีต้อนรับสู่เวปไซต์ของโรงเรียนดลวิทยา หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เชิญติดต่อที่หมายเลข 02-318-1523 (ธุรการและการเงิน) หรือ 02-318-1521 (ทะเบียน)
- Details
- Written by Super User
- Category: Uncategorised
- Hits: 19112
ประวัติโรงเรียนดลวิทยา
ในภาษาฝรั่งเศสมีคำหนึ่งคือ L‘ esprit de Corps แปลว่า จิตวิญญาณของหมู่คณะ หรือ จิตตารมย์ในความภาคภูมิและเกียรตินิยมของสถาบัน เป็นจุดรวมน้ำใจของผู้คนในความเป็นอยู่หรืออาชีพเดียวกัน คำๆ นี้ คือปณิธานและจิตตารมย์ของคณะภารดาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลที่อาจารย์ดอลอ รุ่งเรือง มีความประทับใจตั้งแต่สมัยที่เป็นครูน้อยอยู่ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล อาจารย์ดอลอ เห็นว่า ปณิธานดังกล่าวมีส่วนทำให้คณะภารดาทุ่มเทเอาใจใส่ต่อการศึกษาของเยาวชน ให้เยาวชนเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาการและด้านศีลธรรม อาจารย์ดอลอ จึงได้ยึดปณิธาณนี้เป็นหลักในการก่อตั้งโรงเรียนดลวิทยา ดังจะเห็นได้จากการที่อาจารย์ดอลอได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งที่ได้รับการบันทึกในหนังสืออนุสรณ์ของโรงเรียนปี 2532 ว่า "ผมจึงมีความคิดว่าหากวันหนึ่งได้มีโอกาสสร้างโรงเรียนขึ้น ก็จะดำเนินรอยตามและปณิธานและจิดตารมย์นี้"
อาจารย์ดอลอ ได้ก่อตั้งโรงเรียนดลวิทยาขึ้นและเริ่มเปิดภาคปีการศึกษาแรกเมื่อพุทธศักราช 2506 ที่ซอยจุลดิศ ถนนเพชรบุรี ประตูน้ำ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนดลพิทยา สถานที่ตั้งของโรงเรียนในขณะนั้น เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนปัทมานุสรณ์ที่ได้โอนกิจการมาให้โรงเรียนดลพิทยา ในปีการศึกษาแรก โรงเรียนดลพิทยามีนักเรียนชั้น ป.1 - มศ.1 รวม 615 คน มีคณะครู 16 ท่านอันได้แก่
- อาจารย์ ดอลอ รุ่งเรือง
- มาสเตอร์ สมชาย ขมังดิษฐ์
- มาสเตอร์ นิกร แทนนิกร
- มาสเตอร์ กิ่ว วูวงศ์
- มาสเตอร์ คงศักดิ์ บูรณสมภพ
- มาสเตอร์ ชาย มั่นจิตดี
- มาสเตอร์ กมล โพธิกุล
- มาสเตอร์ ชาตรี แซ่ฮ่อ
- มาสเตอร์ ศักดิ์จิต ปื่นทองคำ
- มิส ประไพพิศ โกมารทัต
- มาสเตอร์ ศุภฤกษ์ บุลยเลิศ
- มิส อัญชลี เสมาวงศ์
- มิส วรรณศรี แสวงผล
- มาสเตอร์ เดชา ลาพุ่ม
- มิส เมตตา บุนนาค
- มิสเตอร์ ไมเคิล ไรท์
ครั้นมาถึงปลายปีการศึกษานั้นเอง ก็มีเหตุการณ์บีบบังคับให้ต้องหาสถานที่ตั้งของโรงเรียนแห่งใหม่ ท่านอาจารย์ดอลอ รุ่งเรือง จึงได้มาเช่าซื้อที่ในซอยศูนย์วิจัยจำนวน 5 ไร่ จากคหบดีผู้ใจบุญ คือ คุณผุส ปุ่นเอม และตั้งชื่อโรงเรียนในซอยศูนย์วิจัยนี้ว่า โรงเรียนดลวิทยา
เมื่อโรงเรียนดลวิทยา เปิดการเรียนการสอนที่ซอยศูนย์วิจัยครั้งแรก โรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียนขนาด 12 ห้องเรียน 1 หลัง, อาคารรับรองแขกขนาดเล็ก 1 หลัง และเรือนพักสำหรับนักเรียนประจำอีก 1 หลัง ด้วยลักษณะอาคารที่โรงเรียนมีในขณะนั้นทำให้โรงเรียนสามารถรองรับนักเรียนได้ไม่เกิน 765 คน
นักเรียนรุ่นแรกจำนวนกว่า 400 คนของโรงเรียนดลวิทยา เป็นนักเรียนชั้น ป.5 - ม.2 ที่มาจากโรงเรียนดลพิทยา ประตูน้ำ นักเรียนรุ่นนี้ถือเป็นนักเรียนรุ่นบุกเบิกของโรงเรียน เพราะในตอนนั้น ซอยศูนย์วิจัยมีสภาพเป็นท้องทุ่ง ถนนที่ตัดผ่านทุกสายก็เป็นถนนลูกรัง ไม่มีไฟฟ้าจากส่วนกลาง ทางโรงเรียนต้องใช้เครื่องปั่นไฟใช้เอง น้ำที่ใช้ก็ต้องขนส่งด้วยเป็นคันรถบรรทุก มีบ้านอาคารบ้านเรือนอยู่เพียง 3 หลัง คือ
- ตึกของศูนย์วิจัยและพัฒนาทางทหารของสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางการทหารระหว่าประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาเพื่อพัฒนาอาวุธที่ใช้ในการทำสงคราวเวียดนาม
- บ้านพักของคุณตระหนี่ วิเศษสุ
- อาคารเรียนของโรงเรียนดลวิทยา
ในปีพ.ศ. 2510 โรงเรียนได้ถมบ่อน้ำเพื่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 24 ห้องเรียน อาคารเรียนหลังนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าของโรงเรียน และมีชื่อว่า "ตึกแม่พระองค์อุปถัมภ์" เพราะมีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าการสร้างตึกสำเร็จลงได้ด้วยน้ำพระทัยของพระแม่มารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้า ยกตัวอย่างเช่น ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติงบประมาณจากธนาคารเพื่อการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้ 2 แสนบาท แต่เมื่อเริ่มลงมือก่อสร้างก็พบปัญหางบประมาณบานปลาย โดยเงินกว่า 8 หมื่นบาทที่หมดไปสามารถทำได้เพียงการเริ่มตอกเสาเข็มของอาคารเรียนเท่านั้น อย่างไรก็ดีเนื่องจากคณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนมีความไว้ใจและศรัทธาต่อพระแม่มารีย์มาโดยตลอด จึงได้วอนขอพระแม่ให้กิจการการก่อสร้างงอาคารเรียนหลังนี้และกิจการต่างๆของโรงเรียนสำเร็จลุล่วงไปได้
คณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนเชื่อว่าด้วยน้ำพระทัยของพระแม่มารีย์ การก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จึงได้ประสบความสำเร็จลงได้ในเวลา 2 ปี ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากผู้มีพระคุณหลายท่าน หนึ่งในนั้นคือ คุณผุส ปุ่นเอม (ขณะนั้นเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งของโรงเรียน) คณะผู้ก่อตั้งของโรงเรียนยังมีความซาบซึ้งในน้ำใจของท่านเหล่านี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2527 หลังจากที่โรงเรียนได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 21 ปี ทางเจ้าของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนดลพิทยา ประตูน้ำได้แสดงความจำนงขอนำที่ดินบริเวณนั้นไปก่อประโยชน์ในด้านอื่น นักเรียนโรงเรียนดลพิทยาจึงย้ายมาเรียนร่วมกับนักเรียนโรงเรียนดลวิทยา ทั้งนี้เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่มีมากขึ้น โรงเรียนจึงทำการสร้างอาคารเรียนสูง 3 ชั้น รูปตัว U เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง โดยมาดามลิลลี่ รุ่งเรือง (ภริยาของอาจารย์ดอลอ รุ่งเรือง)เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 อาจารย์ดอลอ ได้โอนอำนาจการบริหารโรงเรียนในตำแหน่ง ผู้รับใบอนุญาต และผู้อำนวยการ ของโรงเรียนดลวิทยาให้แก่อาจารย์ดวงใจ (รุ่งเรือง) สุภาไวย์ เนื่องจากอาจารย์ดอลอมีอายุมากถึง 87 ปี และเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนอาจารย์ดอลอ ได้เปลี่ยนบทบาทโดยการทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารกิตติคุณของโรงเรียนจวบจนวาระสุดท้ายของท่านคือเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
ในปัจจุบัน โรงเรียนดลวิทยามีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนได้ทำการพัฒนาอาคารและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมาตามลำดับ จนมีความสามารถที่จะรองรับนักเรียนชาย-หญิงได้ถึง 2,000 คน อย่างไรก็ดี ถึงแม้สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าวันแรกที่โรงเรียนเริ่มเปิดการเรียนการสอนในหลายๆด้าน ความภาคภูมิใจของคณะครู คณะผู้บริหาร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของโรงเรียนไม่ได้อยู่ที่ความเจริญทางวัตถุ หากความภูมิใจล้วนอยู่ที่การได้มีส่วนสร้างให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันเป็นผู้ที่เจริญด้วยศีลธรรมและปัญญามากว่า 50 รุ่น สมดังปณิธานของ อาจารย์ดอลอ รุ่งเรือง ที่ตั้งไว้ก่อนทำการก่อตั้งโรงเรียนขึ้นว่า จะสร้างโรงเรียนที่ส่งเสริมด้านวิชาการและคุณธรรมให้กับเยาวชน